ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
       ก.  การย่อยเชิงกลเป็นการบดเคี้ยวอาหารโดยฟัน
       ข.  การย่อยเชิงเคมีและการย่อยเชิงกลจะดำเนินการ
     ควบคู่
และต่อเนื่องกัน
       ค.  การย่อยเชิงเคมีเป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุล
            ของสารอาหารโดยใช้เอนไซม์
       ง.   การย่อยเชิงเคมีเป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุล
           โดยการตัดและบดเคี้ยวของฟัน
   2.  ข้อใดไม่ใช่อวัยวะที่สำคัญในระบบขับถ่าย
       ก.  ไต                          ข.  ท่อไต
       ค.  กระเพาะอาหาร         ง.  กระเพาะปัสสาวะ     
   3.  สาเหตุที่ทำให้ไส้ติ่งอักเสบคือข้อใด
       ก.  ไส้ติ่งถูกย่อยโดยเอนไซม์ที่อยู่ในผนังลำไส้ใหญ่
       ข.  ไส้ติ่งเกิดการเสียดสีจากลำไส้ใหญ่อยู่ตลอดเวลา
       ค.  ไส้ติ่งเกิดการสะสมของเศษอาหารและเศษอุจจาระ
       ง.   รูของไส้ติ่งมีการขยายใหญ่ขึ้นตามขนาดของ
     ลำไส้ใหญ่
   4.  อาหารประเภทใด ที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารได้มากที่สุด                     
       ก.  อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
       ข.  อาหารที่มีไขมันสูง
       ค.  ผักสดและผลไม้
       ง.   อาหารหมักดอง         
   5.  เอนไซม์ใดทำหน้าที่สำคัญในการเปลี่ยนแป้งให้เป็น
น้ำตาลมอลโทส       
       ก.  เอนไซม์กลูโคสอะไมเลส           ข.  เอนไซม์อะไมเลส
       ค.   เอนไซม์เรนนิน                      ง.  เอนไซม์ไลเปส
6.     เกล็ดเลือดมีประโยชน์อย่างไร
       ก.  ช่วยในการขนส่งแก๊สออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อ     ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
       ข.  ช่วยในการทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
       ค.  ช่วยในการแข็งตัวของเลือด เมื่อร่างกายเกิดบาดแผล    
       ง.   สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
   7.  การรับประทานอาหารข้อใด ช่วยสร้างเสริมการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตมากที่สุด    
       ก.  สลัดปลาแซลมอน       ข.  ยำไข่ปลาหมึก
       ค.  ข้าวขาหมู                 ง.   แกงเทโพ
   8.  อวัยวะของระบบหายใจในข้อใด ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส
            ก.                          หลอดเสียง       ข.          หลอดลม
            ค.                          จมูก  ง.          ปอด
   9.  โรคในข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่เกิดจากการสูบบุหรี่
ก.     โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
ข.     โรคถุงลมโป่งพอง
ค.     โรคไซนัสอักเสบ
ง.      โรคมะเร็งปอด
10.  ผู้ป่วยที่เป็นโรคโพรงอากาศอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคใด
ก.     โรคไข้หวัด
ข.     โรคอหิวาตกโรค
ค.     โรคถุงลมโป่งพอง
ง.      โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง



หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. การวางแผนหรือกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาสุขภาพของบุคคลในครอบครัว ควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
ก.     ความชอบหรือความถนัดในกิจกรรมที่กำหนดของ บุคคลในครอบครัว
ข.     ความแตกต่างของปัญหาสุขภาพของบุคคลใน 
ครอบครัว
ค.    อายุและเพศของสมาชิกในครอบครัว
ง.     จำนวนสมาชิก
   2.  การแก้ปัญหาสุขภาพเพื่อการนำไปสู่พฤติกรรมใหม่
มีแนวทางในการปฏิบัติอย่างไร
       ก.  การเตือนความจำด้วยวิธีการกระตุ้นโดยใช้วิธีการต่างๆ
       ข.  ให้รางวัลตนเองเมื่อสามารถปฏิบัติพฤติกรรมตามที่     กำหนดไว้ได้ 
       ค.  ตั้งกฎเกณฑ์หรืองดพฤติกรรมของตนเองตามกำหนด
       ง.   ฝึกปฏิบัติให้เกิดความเคยชินจนกลายเป็นนิสัย    
   3.  การปฏิบัติในข้อใดไม่ใช่การประเมินสภาวะสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว
       ก.  การตรวจสุขภาพประจำปี
       ข.  การตรวจสุขภาพเฉพาะโรค
       ค.  การวัดความทนทานของร่างกายด้วยการเดินทน
       ง.   ประเมินจากค่าดัชนีมวลกาย (BMI = Body Mass      Index)
   4.  การตรวจสุขภาพของบุคคลที่มีภาวะสุขภาพปกติ ควรเริ่มตรวจสุขภาพประจำปีเมื่ออายุเท่าใด   
            ก.  20 ปี             ข. 25 ปี
            ค.  30 ปี             ง. 35 ปี
  5. การตรวจรังสีเต้านม (Mammograghy) เหมาะสำหรับบุคคลใด
       ก.  ผู้หญิงที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม
       ข.  ผู้หญิงอายุต่ำกว่า 25 ปี
       ค.  ผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี        
       ง.   ผู้หญิงให้นมบุตร
6. การปฏิบัติตามจารีตเป็นการส่งเสริมการมีสุขภาพและ
      คุณภาพชีวิตที่ดีด้วยมาตรการใด
       ก.  มาตรการทางสังคม
       ข.  มาตรการทางกฎหมาย
       ค.  มาตรการทางการศึกษา    
       ง.   มาตรการทางการบริหารจัดการ
   7. การวางแผนปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพ
และคุณภาพชีวิตที่ดีในระดับครอบครัวควรปฏิบัติอย่างไร
       ก.  การปฏิบัติตามแนวสุขบัญญัติแห่งชาติ
       ข.  การมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนเข้มแข็ง
       ค.  การสร้างสัมพันธภาพที่ดีของสมาชิกในครอบครัว
       ง.   การร่วมโครงการโรงเรียนสร้างเสริมสุขภาพ
   8.  บุคคลในวัยใดที่มีสมรรถภาพทางกายและความคิดสูง
            ก.  วัยสูงอายุ        ข. วัยผู้ใหญ่  
            ค.  วัยรุ่น             ง. วัยเด็ก                      
   9.  วัยสูงอายุเป็นช่วงที่อยู่ในวัยเสื่อม สาเหตุของการเสื่อมเกิดจากอะไร
       ก. เกิดจากการเสื่อมของเซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์ 
            เม็ดเลือดแดง             
       ข.  เกิดจากการเสื่อมของระบบการหายใจและสมอง
       ค.  เกิดจากความเสื่อมถอยของร่างกายและสมอง
       ง.   เกิดจากการเสื่อมของระบบย่อยอาหาร
10.   การชักชวนหรือโน้มน้าวใจให้บุคคลในครอบครัวหันมาสนใจการดูแลสุขภาพเป็นแนวคิดสำคัญในด้านใด    
       ก.  การสร้างเสริมสุขภาพที่เป็นรูปธรรม    
       ข.  การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
       ค.  การพัฒนาสุขภาพที่ยั่งยืน
       ง.   การพัฒนาสุขภาพเชิงรุก



หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
ทักษะในการป้องกัน ลดความขัดแย้ง และแก้ปัญหาเรื่องเพศ และครอบครัว
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. ทักษะในข้อใดที่ใช้ในสถานการณ์เพื่อความปลอดภัย
ของตนเองและรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันไว้
       ก.  ทักษะการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ
       ข.  ทักษะการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
       ค.   ทักษะการปฏิเสธ
       ง.   ทักษะการต่อรอง
   2.  กิจกรรม 4 ก. มีประโยชน์อย่างไร
       ก.  ช่วยลดความขัดแย้ง และส่งเสริมสัมพันธภาพของ          สมาชิกในครอบครัว
       ข.  ช่วยให้สมาชิกในครอบครัวมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง
       ค.  ช่วยให้สมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมทำร่วมกัน
       ง.   สร้างกิจกรรมที่สนุกสนานในครอบครัว
   3.  เมื่อเพื่อนผิดหวังในความรัก นักเรียนควรใช้ทักษะใด
ในการช่วยแก้ปัญหาให้กับเพื่อน
       ก.  ทักษะการปฏิเสธ
       ข.  ทักษะการต่อรอง
       ค.  ทักษะการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ
       ง.   ทักษะการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
   4.  การใช้คำถามปลายเปิดกับคู่สนทนามีประโยชน์อย่างไร
       ก.   ทำให้ผู้ตอบคำถามตอบได้ตรงประเด็นมากขึ้น    
       ข.  ทำให้ผู้ตอบใช้ความระมัดระวังในการตอบน้อยลง
       ค.  ทำให้ผู้ตอบคำถามมีโอกาสอธิบาย หรือแสดงความ         รู้สึกตามที่ต้องการตอบ      
       ง.   ทำให้ผู้ตอบคำถามสามารถหลีกเลี่ยงการตอบคำถาม       ที่ไม่อยากตอบได้                   
   5.  การเปิดเผยตนเองเป็นการป้องกันและลดความขัดแย้ง   โดยใช้ทักษะใด
       ก.  ทักษะการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ
       ข.  ทักษะการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
       ค.  ทักษะการปฏิเสธ           
       ง.   ทักษะการต่อรอง
6. ครอบครัวที่มีความเข้มงวดหรือควบคุมลูกมากเกินไป จะส่งผลให้ลูกมีลักษณะอย่างไร
       ก.  มีภาวะเป็นผู้นำสูง      ข.  มีความตรงต่อเวลา   
       ค.  มีความรับผิดชอบสูง    ง.  ขาดความมั่นใจในตนเอง
   7.  ข้อใดเป็นลักษณะปัญหาของครอบครัวที่เกิดจากการมีช่องว่างระหว่างวัย                   
       ก.  เกิดการหย่าร้างหรือแยกทางกันของคู่สมรส       
       ข.  มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมาก
       ค.  มีความขัดแย้ง ขาดความปรองดอง
       ง.   เกิดการทะเลาะวิวาท
   8.  ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของเพศศึกษา
       ก.   รู้พฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศ                      
       ข.   มีเจตคติที่ดีต่อธรรมชาติทางเพศ        
       ค.  เข้าใจวุฒิภาวะของเพื่อนต่างเพศ
       ง.   เข้าใจพัฒนาการทางเพศของตนเอง                    
   9. ปัญหาความขัดแย้งเรื่องเพศในข้อใด เป็นปัญหามากที่สุด
       ก. ปัญหาการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม 
       ข.  ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
       ค.  ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ           
       ง.   ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ
10.  ข้อใดเป็นอิทธิพลของฮอร์โมนเพศ
       ก.  ทำให้อยากมีโลกส่วนตัว    
       ข.  ทำให้เข้าใจตนเองได้มากขึ้น
       ค.  ทำให้เกิดความรู้สึกอยากเป็นสาว        
       ง.   ทำให้เกิดแรงขับทางเพศตามธรร


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
สิทธิผู้บริโภค

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ถ้านักเรียนไปซื้อผลไม้แล้วปรากฏว่า แม่ค้าโกงตาชั่ง นักเรียนควรไปร้องทุกข์กับหน่วยงานใด
       ก.  สำนักมาตรฐานอาหาร
       ข.  สำนักงานกรมการค้าภายใน
      ค.   สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
       ง.   สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
   2.  สินค้าทุกชนิดจะต้องระบุวัน เดือน ปี ที่ผลิต และหมดอายุ สอดคล้องกับสิทธิในข้อใด
       ก.  สิทธิในการรับข้อมูลข่าวสาร
       ข.  สิทธิที่จะได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ   
       ค.  สิทธิจะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า      
       ง.   สิทธิในการพิจารณาความถูกต้องของสินค้า
   3.  พระราชบัญญัติอาหารมีความสำคัญต่อผู้บริโภคในข้อใดน้อยที่สุด
       ก.  ควบคุมราคาอาหารให้ถูกมากที่สุด
       ค.  ดูแลคุณภาพของอาหารให้ตรงกับฉลากที่ปิดไว้
       ข.  ให้ความเป็นธรรมต่อผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า
       ง.   ควบคุมคุณภาพของอาหารให้มีความปลอดภัยกับผู้บริโภค
   4.  ข้อใดไม่ใช่บทบาทของผู้บริโภคในการปกป้องสิทธิของตนเอง
       ก.  มีความรู้และเข้าใจถึงสิทธิผู้บริโภคที่บัญญัติไว้ใน  กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค                      
       ข.  มีความรู้และเข้าใจกลวิธีในการผลิตสินค้าและบริการ     ของผู้ประกอบการ     
       ค.  มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าและ
     บริการ   
        ง.  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคแก่บุคคลอื่น
  5. ดาวซื้อน้ำผลไม้มาดื่ม โดยดูว่าเป็นน้ำผลไม้รวมตามที่ต้องการ ข้อความดังกล่าวสอดคล้องกับสิทธิผู้บริโภคในข้อใด
       ก.  สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร สรรพคุณของสินค้าอย่างถูกต้อง
       ข.  สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า    
       ค.  สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาความเสียหาย
       ง.  สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกซื้อสินค้า
5. ดาวซื้อน้ำผลไม้มาดื่ม โดยดูว่าเป็นน้ำผลไม้รวมตามที่ต้องการ ข้อความดังกล่าวสอดคล้องกับสิทธิผู้บริโภค   ในข้อใด
       ก.  สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร สรรพคุณของสินค้า  อย่างถูกต้อง
       ข.  สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า    
       ค.  สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาความเสียหาย
       ง.  สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกซื้อสินค้า









   6.  ข้อใดกล่าวถึงสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภคไม่ถูกต้อง
       ก.  ผู้บริโภคมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการเยียวยา   ความเสียหายจากการใช้สินค้าหรือบริการ
       ข.  ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆ          ได้อย่างมีอิสระ         
       ค.  ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะตรวจค้นสถานที่ผลิตสินค้าที่ไม่ได้
     มาตรฐาน
       ง.   ผู้บริโภคทุกคนมีสิทธิได้รับการคุ้มครองอย่าง     
            เท่าเทียมกัน
   7.  สินค้าในข้อใดที่ควรนำมาบริโภคมากที่สุด
       ก. สินค้าที่มีการรับรองคุณภาพจากบุคคลที่มีชื่อเสียง
       ข.  สินค้าที่มีกระบวนการผลิตที่สะอาดและปลอดภัย
       ค.  สินค้าของกลุ่มแม่บ้านที่จัดเป็นสินค้าโอท็อป    
       ง.   สินค้าที่มีดารา นักแสดงเป็นพรีเซนเตอร์
   8.  ข้อใดไม่จัดเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภค
       ก.  การได้รับการพิจารณาค่าชดเชยความเสียหายจาก     การซื้อสินค้าหรือบริการ
       ข.  การได้รับสิทธิซื้อสินค้าราคาพิเศษจากการซื้อสินค้า     และบริการจำนวนมาก                    
       ค.  การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า
       ง.   การได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ 
  9. หากผู้ขายสินค้าให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือข้อมูลที่ทำให้  
       ผู้ซื้อเข้าใจผิดไปจากความเป็นจริงจัดเป็นการกระทำผิด 
       พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคในข้อใด
     ก.    สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและ  
            บริการ
ข.  สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ
     ค.  สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
      ง.  สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร
  10.  หน่วยงานเอกชนในข้อใดที่มีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือดูแลคุ้มครองผู้บริโภค
       ก.  โครงการทางเลือกเพื่อเกษตรกรและผู้บริโภค
       ข.  สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
       ค.  องค์การอนามัยโลก (WHO)
       ง.   กรมกา รค้าภายใน               



หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
การเจ็บป่วยและการตายของคนไทย

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
อ่านกรณีศึกษาด้านล่าง แล้วตอบคำถาม ข้อ 1-2
     ชะเอมกับชะอิงเป็นพี่น้องกัน วันหนึ่งคุณพ่อคุณแม่พาทั้ง 2 คน ไปเดินเล่นในสวนสาธารณะ เมื่อมาถึงพบว่ามีการแสดงดนตรีในสวน ทำให้มีผู้คนมาชมการแสดงเป็นจำนวนมาก บางคนไอ จาม โดยไม่ปิดปาก ทุกคนต้องเดินฝ่าฝูงชนที่แออัด คุณพ่อคุณแม่จึงตัดสินใจพาทั้ง 2 คน กลับบ้าน
      เมื่อกลับบ้านคุณพ่อคุณแม่ และชะเอมต่างก็ล้างมือ ทำความสะอาด ส่วนชะอิงกลับรีบไปหยิบคุกกี้ที่คุณแม่ทำไว้มารับประทาน ผ่านไป 2 วัน ชะอิงเริ่มไม่สบาย    มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก จนคุณพ่อคุณแม่ต้องพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
1. จากอาการของชะอิงนักเรียนคิดว่า ชะอิงป่วยเป็นโรคใด
       ก.  โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ H1N1
       ข.  โรคไข้หวัดตามฤดูกาล      
       ค.  โรคไข้เลือดออก
       ง.   โรคไข้หวัดนก            
   2. จากกรณีศึกษานักเรียนคิดว่า วิธีที่สามารถป้องกัน
การเกิดโรคดังกล่าวได้ดีที่สุดคือข้อใด
       ก.  ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับโรคต่างๆ และรีบไปรับวัคซีน        เพื่อป้องกันโรคเหล่านั้นอยู่เสมอ
       ข.  หมั่นล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
       ค.  นอนกางมุ้ง สวมใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว   
       ง.   บริโภคเนื้อไก่และไข่ไก่ที่ปรุงสุกเท่านั้น
   3.  ใครปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยได้เหมาะสมที่สุด
       ก.  นุ่นดื่มเครื่องดื่มบำรุงกำลังบ่อยๆ                    
       ข.  น้ำรับประทานเฉพาะอาหารที่มีราคาแพง         
       ค.  นัทไปรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่างๆ จากโรงพยาบาล         เป็นประจำ
       ง.   นิ่มรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ
     ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.   ใครมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยมากที่สุด
       ก.  อุ้มดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ
       ข.  แอมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
       ค.  เอ๋รับประทานอาหารที่สด สะอาด ถูกสุขลักษณะ
       ง.   เอดูแลรักษาสุขอนามัยของตนเองให้สะอาดอยู่เสมอ

5. นักเรียนคิดว่า การป้องกันการเจ็บป่วยที่ดีที่สุดควรเริ่มต้นจากอะไร
       ก.  การผลิตเวชภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
     ในการรักษาโรค
       ข.  การวางระบบการบริการสาธารณสุขให้มี     ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
       ค.  การจัดสร้างโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานเท่าเทียมกัน
       ง.  การดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง         
 6. ข้อใดเป็นโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพทั้งหมด
       ก.  โรคดาวน์ซินโดรม โรควัณโรค
       ข.  โรคตาบอดสี โรคฟินิลคิโตนูเรีย         
       ค.  โรคกระเพาะอาหาร โรคเบาหวาน    
       ง.   โรคตะกั่วเป็นพิษ โรคพังผืดทับเส้นประสาท
   7.  โรคไข้เลือดออกที่ระบาดในประเทศไทย เกิดจากเชื้อไวรัสกี่ชนิด อะไรบ้าง
       ก. 3 ชนิด ได้แก่ ไวรัสเด็งกี ไวรัสชิกุนคุนยา และไวรัสไข้       หวัดนก
       ข.  3 ชนิด ได้แก่ ไวรัส H1N1 ไวรัสเด็งกี และไวรัส
           ชิกุนคุนยา
       ค. 2 ชนิด ได้แก่ ไวรัสเด็งกี และไวรัสชิกุนคุนยา
       ง.  2 ชนิด ได้แก่ ไวรัส H1N1 และไวรัสเด็งกี
   8.  คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคใดมากที่สุด
       ก.  โรคเอดส์                 
       ข.  โรคหัวใจ
       ค.  โรคมะเร็ง
       ง.   โรคความดันโลหิตสูง
9. ข้อความใดกล่าวถึงโรคติดต่อทางพันธุกรรมได้ถูกต้องที่สุด
       ก.  โรคที่เกิดขึ้นจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์
       ข.  โรคที่เกิดทางสุขภาพที่เป็นผลมาจากการทำงาน
       ค.  โรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติจากการทำงานของ        เซลล์สมอง
       ง.   โรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของยีนและโครโมโซม       ที่เป็นตัวกำหนดลักษณะทางพันธุกรรม
10. ข้อใดไม่ใช่โรคติดต่อทางพันธุกรรม
       ก.  โรคฮีโมฟีเลีย          
       ข.  โรคตะกั่วเป็นพิษ
       ค.  โรคธาลัสซีเมีย          
       ง.   โรคเบาหวาน



หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
สมรรถภาพทางกายและทางกลไก

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  การพัฒนาสมรรถภาพทางกายและทางกลไก
ควรคำนึงถึงข้อใดมากที่สุด
       ก.  ความสนุกสนาน
       ข.  ความประหยัด
       ค.  ความเหมาะสม           
       ง.   ความปลอดภัย
   2.  บุคคลที่อยู่ในวัยใดสามารถเล่นกีฬาได้ทุกรูปแบบ
       ก.  วัยสูงอายุ                      ข.  วัยผู้ใหญ่           
       ค.  วัยหนุ่มสาว                   ง.  วัยเด็ก           
   3. การวางแผนการพัฒนาสมรรถภาพมีประโยชน์อย่างไร
       ก.   ช่วยให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อสร้างความ   สมบูรณ์ของร่างกาย            
       ข.  ช่วยให้ค้นพบความสามารถและความทนทานของ     ร่างกาย
       ค.  ช่วยให้พัฒนาสมรรถภาพทางกายได้ด้วยวิธีลัด         
       ง.   ช่วยให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายได้รวดเร็วขึ้น      
   4.  สมรรถภาพทางกายและทางกลไกสามารถเกิดขึ้นกับร่างกายได้อย่างไร
       ก.  การออกกำลังกายโดยใช้เครื่องออกกำลังกาย
       ข.  การฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
       ค.  การเข้าคอร์สออกกำลังกาย  
       ง.   การปฏิบัติอย่างหักโหม
   5.  การเล่นกีฬาที่เน้นความเพลิดเพลินเหมาะสำหรับบุคคลในวัยใด
       ก.  วัยเด็ก                     ข.  วัยหนุ่มสาว        
       ค.  วัยผู้ใหญ่                  ง.  วัยสูงอายุ
    6. ข้อใดสามารถทดสอบความทนทานของระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายได้
       ก. การยืนกระโดดไกล       ข. การวิ่งเก็บของ             
       ค.  การดึงราวเดี่ยว          ง.  การว่ายน้ำ

7. การตีโต้ลูกปิงปองด้วยความรวดเร็ว เป็นข้อบ่งบอกให้เห็น สมรรถภาพของร่างกายอย่างไร
       ก.  ความสามารถในการเคลื่อนไหวของร่างกาย
       ข.  ความสามารถในการควบคุมและการทรงตัวของร่างกาย    
       ค.  ความสามารถในการผสมผสานการเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว
       ง.   ความสามารถในการตอบสนองสิ่งเร้าในระยะเวลา     อันรวดเร็ว
   8.  สมรรถภาพทางกลไกเป็นความสามารถของร่างกาย ในด้านใด
       ก.  เป็นความสามารถของร่างกายที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
       ข.  เป็นความสามารถของร่างกายในการทำงานอย่างต่อเนื่อง
       ค.  เป็นความสามารถของร่างกายที่เกิดจากการฝึกฝน   
       ง.   เป็นความสามารถของร่างกายในการเล่นกีฬา
   9. ทักษะในข้อใดที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
       ก.  ทักษะการเคลื่อนไหว
       ข.  ทักษะการหลบหลีก    
       ค.  ทักษะการกระโดด
       ง.   ทักษะการทรงตัว
 10.  การงอแขนห้อยตัวเป็นการทดสอบสมรรถภาพในด้านใด
       ก.  พลังของกล้ามเนื้อ     
       ข.  ความทนทานของกล้ามเนื้อ
       ค.  ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ
       ง.   ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ




หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของคนไทย

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
อ่านกรณีศึกษาด้านล่าง แล้วตอบคำถาม ข้อ 1-3
       ธาราเป็นเด็กสาว อายุ 16 ปี ธาราอาศัยอยู่กับชล ผู้เป็นพ่อ ซึ่งมีอาชีพรับจ้างทั่วไปในชุมชนแออัดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ทุกวันพ่อของธาราจะออกไปทำงานรับจ้างตามชุมชนต่างๆ วันไหนได้เงินมาเยอะชลก็จะกินเหล้า วันไหนได้เงินมาน้อยก็จะหงุดหงิดอารมณ์เสีย
       ต่อมาเพื่อนของชลชวนเขาไปเล่นการพนันในบ่อนเปิดใหม่ใกล้ๆ บ้าน ชลหวังว่า ถ้าเล่นได้เงินมาเยอะๆ จะทำให้ชีวิตของทั้งคู่ดีขึ้น วันแรกที่ไปเล่นชลได้เงินกลับมาร่วม 3,000 บาท จากนั้นวันต่อๆ มาชลก็ไม่ทำงานเอาแต่เล่นการพนัน
       ธาราไม่มีเงินไปเรียนหนังสือ เธอจึงออกตระเวนรับจ้างล้างจานตามร้านอาหารต่างๆ เพื่อนำเงินไปโรงเรียน วันหนึ่งเมื่อเธอกลับมาถึงบ้านพบว่า พ่อของเธอนอนจมกองเลือดอยู่ภายในบ้าน มีกลุ่มชายฉกรรจ์ 4 คน รุมทำร้ายพ่อของเธอ
       ธาราตกใจมากพยายามร้องให้คนช่วย แต่ก็ไม่มี   ใครช่วย เพราะทุกคนต่างก็กลัวกันไปหมด ชายฉกรรจ์    1 ใน 4 คนนั้น เดินตรงมาหาเธอ แล้วบอกกับธาราว่า    พ่อของเธอติดหนี้ที่บ่อนแล้วไม่ยอมใช้ ต้องโดนสั่งสอน รวมถึงเธอด้วย เขาเอามือชกที่ท้องน้อยของเธอแล้วลากเธอไปบนที่นอน พ่อของเธอนอนสลบแน่นิ่งจมกองเลือด       ชายฉกรรจ์ทั้ง 4 คน เปลี่ยนจุดสนใจมาที่ธารา พวกเขาช่วยกันกระชากเสื้อผ้าของเธอออก แล้วรุมข่มขืนเธอ ธาราพยายามขัดขืนแต่สู้แรงพวกเขาไม่ได้
       ธารารู้สึกเสียใจมาก เมื่อชายฉกรรจ์ทั้ง 4 คน      เดินออกไปจากบ้าน มณีซึ่งเป็นเพื่อนที่เรียนอยู่ห้องเดียวกันผ่านมาเห็น จึงรีบวิ่งเข้ามาในบ้านของธารา    ธารากอดมณีร้องไห้โฮ มณีพยายามปลอบให้ธาราหยุดร้องไห้ แล้วเรียกให้คนอื่นๆ มาช่วยพาธาราและพ่อไปโรงพยาบาล
1. นักเรียนคิดว่า สาเหตุของความรุนแรงที่เกิดขึ้นคืออะไร
       ก.  ความขัดแย้งกันระหว่างชลกับเพื่อน
       ข.  ปัญหาในครอบครัวของธารา
       ค.  การเป็นหนี้การพนันของชล      
       ง.   ปัญหาการเรียนของธารา
   2.       หากนักเรียนเป็นชล นักเรียนจะทำอย่างไร
       ก.  หาเงินใช้หนี้การพนัน เมื่อหมดหนี้ก็กลับไปเล่นใหม่
       ข.  พยายามต่อสู้กับคนร้ายไม่ให้ทำอันตรายตนเองได้ 
       ค.  ตั้งใจทำงาน ไม่ดื่มเหล้า และไม่เล่นการพนัน
       ง.   ตะโกนขอความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน
3. นักเรียนคิดว่า ธาราควรทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุด
            ก.  ลาออกจากโรงเรียน      
       ข.  โกรธและไม่ให้อภัยผู้เป็นพ่อ             
       ค.  ขอร้องมณีให้เก็บเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นความลับ
       ง.   ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และแจ้งความ
     ดำเนินคดีกับคนร้าย
   4.  องค์กรใดต่อไปนี้ไม่มีหน้าที่ให้คำแนะนำและช่วยเหลือ
ผู้ที่ถูกกระทำรุนแรง
       ก.   มูลนิธิปวีณา หงสกุล เพื่อเด็กและสตรี
       ข.  มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว
       ค.  มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก   
       ง.   มูลนิธิเพื่อนศิลปิน
            
   5. ข้อใดไม่ใช่ความรุนแรงที่พบบ่อยในสังคมไทย
       ก.  ความรุนแรงในการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบ
       ข.  ความรุนแรงในสถาบันการศึกษา
       ค.  ความรุนแรงในครอบครัว
       ง.   ความรุนแรงทางเพศ     
6. นักเรียนคิดว่า ครอบครัวใดไม่มีปัญหาความรุนแรง หรืออาจเกิดปัญหาความรุนแรงน้อยที่สุด
       ก.   ครอบครัวของอัจจิมาประกอบด้วย คุณพ่อ คุณแม่   
            คุณปู่ คุณย่า อัจจิมา และน้องสาว ทุกคนในครอบครัว
            อยู่กันด้วยความรัก และยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกัน
            และกันเสมอ
       ข.  ครอบครัวของทิพยามีคุณพ่อเป็นผู้ออกกฎเกณฑ์   
            ทุกอย่างภายในบ้านแต่เพียงผู้เดียว ส่วนคุณแม่ต้อง 
            คอยทำตาม ห้ามแสดงความคิดเห็น
       ค.   ครอบครัวของนักรบมีคุณแม่เป็นนักธุรกิจที่ทำงานหนัก      เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวสุขสบาย
       ง.   ครอบครัวของรชฏมีคุณพ่อที่ชอบดื่มสุรา ส่วนคุณแม่ก็     ติดการพนัน
   7. นักเรียนคิดว่า ปัญหาความรุนแรงระหว่างสถาบัน
การศึกษา นักเรียนยกพวกตีกันสามารถแก้ไขได้
อย่างไร
       ก.  หากนักเรียน นักศึกษาคนใดกระทำความผิดฐาน      
            ยกพวกตีกัน ให้ทางสถาบันการศึกษาไล่ออกได้
     ทันที
       ข.  จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้นักเรียน นักศึกษาแต่ละ     สถาบันการศึกษาได้รู้จักกันมากขึ้นและได้ทำ
     กิจกรรมร่วมกัน
       ค.  ให้นักเรียน นักศึกษาของสถาบันที่เกิดความขัดแย้ง
     กันมาเรียนร่วมกัน 
       ง.   ดำเนินคดีอย่างเข้มงวดกับนักเรียน นักศึกษาที่
       ยกพวกตีกัน
8.     นักเรียนคิดว่าใครมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรงมากที่สุด
       ก.  เด่นชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ประเภทเกมต่อสู้
       ข.  ดวงชอบเล่นฟุตบอลกับเพื่อนๆ
       ค.  ดาวชอบดูรายการทอล์กโชว์      
       ง.   เดือนชอบเดินชมสินค้าในศูนย์การค้า
9.    ข้อใดไม่ใช่วิธีการป้องกันและแก้ไขความรุนแรง
       ก.  การสร้างกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตจริง       ของตนเองและผู้อื่น
       ข.  การหลีกเลี่ยงการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติด
     ทุกชนิด    
       ค.  การสร้างความรักและความอบอุ่นในครอบครัว    
       ง.   การกำจัดสิทธิของเพศที่ 3
10.   ปัจจัยใดเป็นพื้นฐานของการเกิดความรุนแรงในสังคมไทยมากที่สุด
       ก.  อบายมุขต่างๆ          
       ข.  การอบรมเลี้ยงดู
       ค.  การศึกษา
       ง.   สื่อต่างๆ

4 ความคิดเห็น: